องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง (อบต.ท่าแร้ง)

บันทึกรายงานการประชุมแปรญัตติ ครั้งที่ 1/2566

บันทึกรายงานการประชุมแปรญัตติ ครั้งที่ 1/2566 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2566

มาตรการประหยัดพลังงาน อบต.ท่าแร้ง

 

มาตรการประหยัดพลังงาน

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี




มาตรการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

1. วัตถุประสงค์ เพื่อเสนอแนวทางและวิธีการการประหยัดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงยานพาหนะ ส่วนกลางองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
2. ขอบเขต ครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถยนต์ส่วนกลางองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง
3. ผู้นำไปใช้งาน พนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง ผู้ขอใช้รถไปติดต่อราชการและปฏิบัติงาน
4. สถานที่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง

แนวทางขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1. การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ส่วนกลาง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง
1.1 ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อจอดรถ
1.2 กรณีการขอใช้รถไปติดต่อราชการและปฏิบัติงานนอกสถานที่เส้นทางเดียวกันให้จัดรถยนต์รวมกันไป
1.3 ตรวจสภาพรถยนต์ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ
1.4 วางแผนการใช้เส้นทางการเดินทาง
1.5 จัดทำคู่มือการใช้รถเพื่อการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
1.6 จัดอบรมเรื่อง วิธีการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่พนักงานขับรถยนต์
1.7 ขับรถไม่เกิน 90 กม./ชม.
1.8 เติมลมยางให้พอดี
1.9 ทำความสะอาดไส้กรองเป็นประจำ
1.10 ใช้เกียร์ให้สัมพันธ์กับความเร็วรอบ
1.11 ไม่เลี้ยงคลัทช์ในขณะขับรถ
1.12 ออกรถโดยวิ่งไปช้าๆ แทนการอุ่นเครื่องอยู่กับที่
1.13 ไม่ควรเร่งเครื่องก่อนออกรถ
1.14 อย่าออกตัวรถกระชาก
1.15 ปรับแต่งเครื่องยนต์ทุก 6 เดือน
1.16 ตรวจเช็คเครื่องยนต์ปีละ 2 ครั้ง

2. การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงโดยการบริหารการใช้รถยนต์ของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ
2.1 จัดระเบียบการใช้รถยนต์ส่วนกลางในการส่งเอกสารและหนังสือราชการให้เป็นเวลาที่ชัดเจนและในช่วงเวลาที่เหมาะสม
2.2 เอกสารหรือหนังสือราชการที่มีจำนวนไม่มากและไม่เร่งด่วน (ไม่เกิน 10 แผ่น) ควรกำหนดให้ส่งทางโทรสาร หรือเอกสารที่มีจำนวนน้อยให้จัดส่งโดยการใช้รถ จักรยานยนต์
2.3 การส่งเอกสารที่มีกำหนดเวลาชัดเจน โดยกำหนดเวลาที่มากกว่า 3 วันทำการให้ กำหนดส่งทางไปรษณีย์
2.4 จัดเส้นทางรถและคัดแยกเอกสารที่ต้องจัดส่งที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ
2.5 วางระเบียบการขอใช้รถยนต์ส่วนกลางไปราชการที่รู้กำหนดเวลาล่วงหน้าต้อง ยื่นขออนุญาตใช้รถยนต์ส่วนกลางล่วงหน้า (1 วัน) เพื่อให้สามารถจัดรถและ ขนาดที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน
2.6 กำหนดให้หัวหน้ายานพาหนะและสถานที่ /ผู้รับผิดชอบในการจัดรถยนต์ต้อง วิเคราะห์วางแผนการจัดใช้รถตามคำขอใช้รถล่วงหน้า ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพรวมทั้งประสานให้ผู้ขอใช้รถทราบด้วย (เช่น กรณีไปเส้นทาง เดียวกันหรือระยะทางใกล้เคียงและจัดให้ไปรถยนต์คันเดียวกันในการติดต่อราชการและปฏิบัติงาน เป็นต้น
2.7 ให้มีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์การใช้รถยนต์ส่วนกลางเพื่อให้มีการปรับปรุงระเบียบการใช้รถของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ อย่างน้อยทุก 6 เดือน



3. การจัดทำแผนรณรงค์ประชาสัมพันธ์ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและการใช้รถยนต์ของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ

3.1 จัดให้มีการประชุมเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อช่วยกัน ประหยัดการใช้รถยนต์ส่วนกลาง และการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
3.2 จัดทำแผนรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและการใช้รถของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพเผยแพร่แก่ พนักงาน/ลูกจ้าง ขับรถไม่เกิน 90 ก.ม./ชม. ทางเดียวกันไปด้วยกัน


มาตรการประหยัดไฟฟ้า

1. วัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด
2. ขอบเขต ครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง
3. ผู้นำไปใช้งาน พนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างทุกคน ที่ปฏิบัติงานภายในองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง
4. สถานที่ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง

แนวทางขั้นตอนการปฏิบัติงานการประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง

1. ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในอาคารที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลช่วยสอดส่องดูแลการใช้ไฟส่องสว่างในอาคารและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในอาคารให้เป็นไปอย่างประหยัด โดยขอให้ช่วยกันปิดไฟแสงสว่างทุกครั้งเมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน เช่น ปิดไฟแสงสว่างห้องทำงานตอนพักเที่ยง ปิดไฟแสงสว่างและเครื่องปรับอากาศในห้องประชุมหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม
2. ส่วนโยธา ดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดหากเสื่อมสภาพให้เร่งซ่อมแซมแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอด
3. เปิดมู่ลี่บางส่วนเพื่อรับแสงสว่าง

1.1 ระบบแสงสว่าง
1) การใช้หลอดไฟฟ้าชนิดประหยัดพลังงาน เช่น เปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา มาเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดประหยัดพลังงาน ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้า
2) เปลี่ยนโคมไฟฟ้าชนิดโคมโลหะทาสีขาว ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการสะท้อนแสงต่ำที่ยังติดตั้งใช้งานอยู่ในอาคารบางส่วนให้เป็นโคมไฟฟ้าชนิด Reflector ชนิดเคลือบสาร Silver ทำให้ลดจำนวนหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้ครึ่งหนึ่ง (ใช้เพียง 1 หลอด/โคม)
3) เปลี่ยนบัลลาสต์ชนิดขดลวดธรรมดา เป็นบัลลาสต์อิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งสามารถลดพลังงานต่อวัตต์/หลอดได้ โดยที่ปริมาณความสว่างยังคงเดิม
4) ทำความสะอาดหลอดไฟฟ้าปีละ 1 ครั้ง
5) รณรงค์เรื่องการประหยัดพลังงาน เช่น การใช้เสียงตามสาย, จัดทำป้ายหรือสติกเกอร์คำขวัญ

1.2 ระบบเครื่องปรับอากาศ
1) การเปิดและปิดเครื่องปรับอากาศในห้องทำงานให้เปิดและปิดตามเวลาและหลักเกณฑ์ ดังนี้
ก. เช้า เปิดเวลา 09.30 น. และปิดเวลา 11.30 น.
ข. บ่าย เปิดเวลา 13.01 น. และปิดเวลา 16.00 น.

2) หน่วยงานใดมีความจำเป็นต้องทำงานนอกเวลาปกติ ให้เปิดเครื่องปรับอากาศเท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
3) ในเวลาเลิกงานผู้ออกจากห้องทำงานเป็นคนสุดท้ายของหน่วยงานนั้น ๆ จะต้องปิดไฟส่องสว่าง และเครื่องปรับอากาศ และตรวจดูเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด หากพบว่าเปิดใช้งานอยู่จะต้องปิดและถอดปลั๊กไฟฟ้าทุกครั้ง
4) เปิดเครื่องปรับอากาศเฉพาะห้องที่ใช้งาน และปรับอุณหภูมิที่เหมาะสม (ประมาณ 25 องศาเซลเซียส)
5) แต่งตั้งและมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบประจำส่วน/สำนัก เป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรการ โดยกำหนดวิธีการควบคุม, ตรวจสอบและติดตามผล
6) แต่ละหน่วยงานดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้การระบายความร้อนของระบบและประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศดีขึ้น โดยพิจารณาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ ดังนี้

ก. ดำเนินการเดือนละ 1 ครั้ง ได้แก่
- ทำความสะอาดคอล์ยเย็น คอล์ยร้อน รวมทั้ง แผ่นกรองฝุ่น ต่างๆ
- ตรวจสอบวงจรการควบคุมต่าง ๆ ว่าทำงานถูกต้องตามข้อกำหนด หรือไม่ เช่น ระบบควบคุมอุณหภูมิห้อง ระบบปรับอากาศของเครื่อง
- ตรวจวัดและบันทึกค่าพลังงานไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์ มอเตอร์ พัดลมต่าง ๆ

ข. ดำเนินการ 6 เดือน/ครั้ง
- ทำการล้างใหญ่ เพื่อทำความสะอาดคอล์ยเย็นและคอล์ยร้อย โดยใช้น้ำหรือน้ำยาทำความสะอาดโดยวิธีการดังกล่าวจะทำให้สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้า และประหยัดงบประมาณในการซ่อมแซมบำรุงรักษา และเครื่องปรับอากาศมีสภาพการใช้งานได้ตามปกติตลอดเวลา
- การเปลี่ยนการใช้เทอร์โมสตัทชนิดธรรมดามาใช้เทอร์โมสตัทชนิด อิเล็คทรอนิคส์เทอร์โมสตัท เพื่อควบคุมอุณหภูมิและการทำงานของเครื่องปรับอากาศ จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ โดยจะมีความแม่นยำในการสั่งงานให้เครื่องปรับอากาศสามารถเดินและหยุดเครื่องได้ที่จุดซึ่งกำหนดการตั้งปรับอุณหภูมิไว้
- ติดฟิล์มกรองแสงหรือมู่ลี่ ในส่วนของผนังที่เป็นกระจกโปร่งใสเพื่อลดปริมาณแสงอาทิตย์และความร้อนที่เข้ามาภายในอาคาร

1.3 เครื่องคอมพิวเตอร์
1) เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์เฉพาะที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น และปิดเครื่องเวลา 12.00 น. ถึง 13.00 น. และเลิกงานเวลา 16.30 น. ยกเว้นเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย
2) ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์เมื่อไม่มีการใช้งานเกินกว่า 2 ชั่วโมง ยกเว้นเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย
3) ในเวลาเลิกงานผู้ออกจากห้องทำงานเป็นคนสุดท้ายของหน่วยงานนั้น ๆ จะต้องตรวจดูเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ในหน่วยงาน หากพบว่าเปิดใช้งานอยู่จะต้องปิดและถอดปลั๊กไฟฟ้าทุกครั้งยกเว้นเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย
4) เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงาน โดยสังเกตจากสัญลักษณ์ Energy Sta เพราะระบบนี้จะใช้กำลังไฟฟ้าลดลงร้อยละ 55 ในขณะที่รอทำงาน

1.4 เครื่องถ่ายเอกสาร(เป็นอุปกรณ์สำนักงานที่ใช้พลังงานสูงที่สุด)
1.) ถ่ายเอกสารเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น
2.) ไม่วางเครื่องถ่ายเอกสารไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
3.) กดปุ่มพัก (Standby Mode) เครื่องถ่ายเอกสารเมื่อใช้งานเสร็จ และหากเครื่องถ่ายเอกสารระบบปิดเครื่องอัตโนมัติ(Auto Power Off) ควรตั้งเวลาหน่วง 30 นาที ก่อนเข้าสู่ระบบประหยัดพลังงาน
4.) ปิดเครื่องถ่ายเอกสารหลังจากเลิกงานและถอดปลั๊กออกด้วย

 

6 วิธีง่าย ๆ อยู่บ้านอย่างไรให้ประหยัดไฟ

เคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยประหยัดไฟในบ้าน ที่ทุกคนสามารถทำได้ง่าย ๆ กัน

1. เปิดหน้าต่างรับลม รับแสงธรรมชาติ

การเปิดหน้าต่างจะช่วยประหยัดไฟได้ดี เพราะช่วยให้แสงและลมธรรมชาติหมุนเวียนเข้ามาในบ้านได้อย่างเต็มที่ จะทำให้บ้านสว่างและเย็นโดยไม่ต้องเปิดไฟหรือเครื่องปรับอากาศ

2. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน

การเสียบปลั๊กทิ้งไว้ แม้ไม่ได้มีการเชื่อมต่อ ยังทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ ดังนั้นเพื่อการประหยัดไฟ เมื่อใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเสร็จแล้วควรปิดและถอดปลั๊กหลังจากเลิกใช้งานทุกครั้ง

3. เลือกใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดไฟธรรมดา

หลอกไฟ LED ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไฟแบบธรรมดา แต่กินไฟน้อยกว่า และมีอายุการใช้งานที่มากกว่า ที่สำคัญคือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่เสี่ยงอันตรายจากรังสี UV หรือสารตะกั่วเหมือนหลอดไฟธรรมดาทั่วไป

4. ไม่เสียบปลั๊กชาร์จโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทิ้งไว้ เมื่อแบตเตอรี่เต็มแล้ว

โดยปกติแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือจะชาร์จเต็มภายในไม่กี่ชั่วโมง การเสียบชาร์จทิ้งไว้แม้แบตเตอรี่เต็มแล้วจะทำให้กินไฟ และเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ เราจึงควรถอดปลั๊กออกทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยและช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า

5. เปิดแอร์ในอุณหภูมิที่เหมาะสม 26 องศาเซลเซียส

ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 26 องศาเซลเซียส เย็นสบายกำลังดี แถมช่วยประหยัดค่าไฟได้มากกว่าการตั้งอุณหภูมิที่ต่ำลง นอกจากนี้การปิดเครื่องปรับอากาศเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง ก่อนออกจากห้อง สามารถช่วยประหยัดไฟฟ้าได้เช่นกัน

6. เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 บ่งบอกระดับการใช้ไฟฟ้าและข้อมูลเบื้องต้น รวมถึงประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายต่อปี เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม และประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

 

การคัดแยกขยะมูลฝอย

การคัดแยกขยะมูลฝอยที่ทำได้จริง พร้อมสถานที่ส่งต่อขยะรีไซเคิล

การคัดแยกขยะ เป็นวิธีการหนึ่งในกระบวนการลดปริมาณขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นตัวการของปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ขยะมูลฝอยที่เกิดจากการละเลยการคัดแยกขยะในชีวิตประจำวันของเรา เป็นห่วงโซ่หนึ่งที่นำพาให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อม สุขภาพร่างกายและชีวิตโดยรวมแย่ลง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับประเภทขยะ การคัดแยกขยะ และสถานที่ส่งต่อขยะรีไซเคิลกันเลย

ขยะมูลฝอย คืออะไร

“ขยะมูลฝอย (WASTE)  คือ สิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและอุปโภคซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้แล้ว บางชนิดเป็นของแข็งหรือกากของเสีย (SOLID WASTE) มีผลเสียต่อสุขภาพ ทางกาย และจิตใจ เนื่องจากความสกปรกเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคทำให้เกิดมลพิษและทัศนะอุจาด”

ที่มา: พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

ผลกระทบจากขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกคัดแยกขยะ

ผลกระทบจากขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกคัดแยกขยะ ส่งผลเป็นวงกว้าง ทั้งผลกระทบต่อดิน น้ำ อากาศ สุขภาพของคนในพื้นที่นั้น และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมระดับโลก ทั้งภาวะโลกร้อน สัตว์ และพืชทยอยสูญพันธุ์ 

ประโยชน์ของการคัดแยกขยะ

การคัดแยกขยะ เป็นประโยชน์และถือเป็นหัวใจหลักในการลดปริมาณขยะ เพราะการคัดแยกขยะ ทำให้ขยะถูกส่งต่อไปในกระบวนการที่ถูกต้องได้ง่ายขึ้น เช่น นำไปเผา นำไปรีไซเคิล นำไปย่อยสลาย ฯลฯ แต่ถ้าหากเราไม่คัดแยกขยะ จะทำให้ขยะแยกออกจากกันยาก กลายเป็นกองขยะขนาดใหญ่ที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะทำได้ง่าย ๆ โดยเริ่มต้นที่การรู้จักประเภทของขยะกันก่อน

4 ประเภทขยะที่ต้องรู้

1. ประเภทขยะอินทรีย์

ขยะอินทรีย์ เป็นขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร เศษเนื้อสัตว์ เศษผลไม้ หญ้า กิ่งไม้ ฯลฯ  

สีถังขยะอินทรีย์ ขยะย่อยสลายได้: สีเขียว

การคัดแยกขยะอินทรีย์และการทำให้ย่อยสลาย

ประเภทของขยะอินทรีย์ หรือขยะที่ย่อยสลายได้นั้น เป็นประเภทขยะที่มีปริมาณมากที่สุดในประเทศ คิดเป็น 64% ของประเภทขยะทั้งหมด ถึงแม้ว่าระบบการจัดเก็บขยะมูลฝอยอินทรีย์และการนำไปใช้ประโยชน์ในบ้านเราจะยังไม่เอื้ออำนวยก็ตาม ดังนั้นหากบ้านใครสามารถทำได้ ควรช่วยกันทำการคัดแยกขยะอินทรีย์เพื่อการกำจัด โดยสามารถทำได้เองที่บ้านดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1 เตรียมถัง หรือภาชนะทรงสูง เจาะรูระบายน้ำโดยรอบถัง หลังจากนั้นใช้ถุงพลาสติกเจาะรูรอบใส่ลงไปในถัง แล้วจึงนำถังไปฝังดิน โดยให้ปากภาชนะอยู่เหนือพื้นดินเล็กน้อย
  • ขั้นตอนที่ 2 ใส่เศษอาหาร ผัก ผลไม้ สลับชั้นไปกับดิน หรือปุ๋ยคอก ในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน
  • ขั้นตอนที่ 3 เมื่อใส่ขยะอินทรีย์สลับกับดิน หรือปุ๋ยคอกจนเต็มแล้ว ให้ปิดฝา แล้วรดน้ำทุก ๆ 7 วันเพื่อเป็นการระบายความร้อน เมื่อครบ 1 เดือนก็จะได้ปุ๋ยหมักสีดำ สามารถนำไปใช้ผสมดินเพื่อปลูกผักหรือใส่ในต้นไม้ได้ 

อ้างอิงจาก: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

2.ประเภทขยะรีไซเคิล

ขยะรีไซเคิล เป็นขยะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยการนำไปแปรรูปด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ และนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ กระป๋อง ฯลฯ เป็นหนึ่งประเภทที่สามารถทำการคัดแยกขยะได้ง่ายที่สุด ช่วยลดปริมาณขยะมูลฝฝอยภาพรวม และลดการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ 

สีถังขยะรีไซเคิล: สีน้ำเงิน

วิธีการคัดแยกขยะรีไซเคิลในชีวิตประจำวัน

แก้ว เช่น ภาชนะใส่อาหาร ใส่เครื่องดื่ม ขวดเครื่องสำอาง ขวดครีม ฯลฯ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท

1. แก้วดี คือ ขวดแก้ว หรือบรรจุภัณฑ์และภาชนะแก้วที่ไม่มีรอยแตกร้าว หรือรอยบิ่น เมื่อนำเข้าโรงงานจะทำการล้างและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เรียกว่า “Reuse”

2. แก้วแตก คือ ขวดแก้วที่แตก หัก บิ่น จะถูกนำมาแยกตามสี (สีใส สีชา และสีเขียว) และเข้าเครื่องบดเพื่อหลอมใหม่ ซึ่งโรงงานจะใช้แก้วแตกเหล่านี้ประมาร 30-40% ในการผลิตแก้วใบใหม่ ช่วยลดการใช้พลังงานความร้อนเมื่อเทียบกับการผลิตแก้วจากวัสดุธรรมชาติแบบ 100% 

กระดาษ เป็นวัสดุที่ใช้พลังงานกว่า 1 ใน 5 ของโลกในการผลิตจากพลังงานที่ใช้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันมีกระดาษเพียงแค่ 60% เท่านั้นที่มีการคัดแยกขยะ และนำมาเป็นขยะรีไซเคิล ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ร้านของเก่ารับซื้อมี 7 ประเภท คือ กระดาษถ่ายเอกสาร กระดาษน้ำตาล (กระดาษลัง) กระดาษบิลเอกสาร กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษสมุด กระดาษหนังสือ (เป็นเล่ม หรือไม่เป็นเล่มก็ได้) และกระดาษสี

พลาสติก แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท

1. พลาสติกคงรูปถาวร คือพลาสติกที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปแบบแข็งตัว ไม่สามารถหลอมกลับมาได้ เช่น แก้วน้ำ หรือจานชาม

2. พลาสติกที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ ทางที่ดีควรแยกตามประเภทของพลาสติก 7 ประเภท สามารถดูที่สัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์

โลหะ ทั้งเหล็กหล่อ เหล็กรูปพรรณ เฟืองรถ นอต ตะปู ตะแกรง ท่อไอเสีย ปั๊มน้ำ เพลาท้ายรถ เหล็กสังกะสี กระป๋อง อลูมิเนียม ฯลฯ 

3.ประเภทขยะอันตราย

ขยะอันตราย เป็นขยะที่มีการปนเปื้อนสารอันตราย วัตถุมีพิษ วัตถุกัดกร่อน วัตถุติดเชื้อและวัตถุไวไฟ เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟ กระป๋องสเปรย์ ฯลฯ หากทิ้งรวมกับขยะทั่วไปจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ให้แยกออกจากขยะประเภทอื่น ๆ อย่างชัดเจน ใส่ถุงหรือกล่อง แล้วค่อยนำไปทิ้ง หรือเรียกใช้บริการเก็บขยะแทน

สีถังขยะอันตราย: สีแดง

4.ประเภทขยะทั่วไป

ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ไม่เข้าพวกกับกลุ่มขยะ 3 ประเภทแรก เป็นขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หรืออาจเป็นขยะที่ไม่คุ้มค่าในการนำมาแปรรูป เช่น ถุงอาหารเปื้อนแกง เศษผ้า ซองขนม เซรามิก กระเบื้องแตก ฯลฯ ให้แยกออกจากประเภทอื่น ๆ เพื่อนำไปทำพลังงานความร้อนใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้

สีถังขยะทั่วไป: สีเหลือง

คัดแยกขยะแล้วไปไหน?

วัดจากแดง รับขวดพลาสติกใสแข็งแรง ส่งไปทำเส้นใยเพื่อทอผ้าไตรจีวรได้ที่

วัดจากแดง ซอยวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โทร 066 159 9558

บมจ. ทีพีบีไอ รับถุงหูหิ้ว ฟิล์มพลาสติกหุ้มกล่องนม หุ้มขวดน้ำ ถุงขนมปัง ถุงน้ำตาล ส่งไปรีไซเคิลที่โครงการ “วน” ได้ที่

บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) 42/174 ม.5 ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210

บจก. เอ็นไวรอนพลาสต์ รับวัสดุโฟม แผ่นโฟม โฟมกันกระแทก ส่งไปรีไซเคิลที่

บริษัท เอ็นไวรอนพลาสต์ จำกัด พร้อมอ้าแขนรับ เพียงส่งไปที่ 29/1 หมู่ 9 ถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตก ต.คลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร 080 440 8788

บจก. ซีโร่ เวสท์ โยโล รับฝาขวด ขวดนม ขวดยาคูลท์ ขวดนมเปรี้ยว บรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบบาง ช้อน/ส้อม/มีดพลาสติก หลอด แก้วน้ำพลาสติก แก้วกาแฟพลาสติก และบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางพลาสติกแบบหลอดและรีฟิล

บจก. ซีโร่ เวสท์ โยโล 432 ถ. พรานนก-พุทธมณฑล แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน กทม. 10170 เบอร์โทรศัพท์ 061-5365514

โครงการ Precious Plastic Bangkok รับฝาขวดเพื่อนำไปทำแจกัน และกระถางต้นไม้ ส่งไปที่

โครงการ Precious Plastic Bangkok จักรพงษ์วิลล่า 396/1 ถ.มหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โครงการหลังคาเขียวฯ รับกล่องเครื่องดื่ม เพื่อนำไปผลิตเป็นแผ่นหลังคา

บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด (ระบุหน้ากล่องว่า ร่วมโครงการหลังคาเขียวฯ) 30/11 หมู่ที่ 11 วัดบางเสาธง ถนนบางนา–ตราด ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10570

โครงการผึ้งน้อยนักสู้ และแบมบูสคูล ให้นำขยะพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ เช่น ถุงขนม หลอดยาสีฟัน ฯลฯ ทำให้สะอาด ตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใส่ลงนขวด PET ให้แน่นจนเต็ม ส่งต่อไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบ้านดินและอาคารเรียน

โครงการผึ้งน้อยนักสู้ 1/778 อาคารการ์เด้นโฮมพลาซ่าโซน 2 ถนนพหลโยธิน ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130

แบมบูสคูล (Bamboo School) 234 ซ.แมมแคท หมู่บ้านบ้องตี้ล่าง ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150

มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน รับหลอดพลาสติกทั่วไป หลอดชานมไข่มุก (ไม่รับหลอดนมที่เป็นขนาดเล็ก) โดยการล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง เพื่อนำไปทำไส้หมอนหนุนมอบให้กับผู้ป่วยติดเตียง

มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน เลขที่ 555 อาคาร1 ชั้น5 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร 02537-3308-10

เอี่ยมดีรีไซเคิล บริการจัดการขยะรีไซเคิลที่ผ่านการคัดแยกขยะแล้ว ในบริเวณเขตเทศบาลนครเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง โดยรายได้ 30% นำไปช่วยเหลือเด็กกำพร้า ผู้พิการ และเป็นสวัสดิการแก่ผู้เก็บขยะรายย่อย

โทรศัพท์: 093-132-9168

GEPP (เก็บ) ระบบเรียกรับขยะรีไซเคิลตามเวลา วันที่ และสถานที่ที่ต้องการ (ส่วนใหญ่คือพื้นที่กรุงเทพฯ) ติดต่อที่

Facebook: GEPP Thailand / Line ID: @GEPP / โทรศัพท์ 064-043-7166

 

 

 

 

 

 

โครงการฉีกวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปี2566

บทความ อื่นๆ ...




Thai Arabic Chinese (Traditional) English Filipino French Japanese Korean Vietnamese




โทร.09-2523-9499


 



 

ท่านติดต่ออบต.ท่าแร้งทางช่องทางใด










 













QR Code
อบต.ท่าแร้ง


 

ลิขสิทธิ์ © 2554-2563 องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง จังหวัดเพชรบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โทร 032-782097 โทรสาร 032-782098